วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

การสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ

http://services.dpt.go.th/dpt_rsbldg/modules/standard/data_standard/Std_ts_method/1210.pdf
http://www.satengnok.go.th/image/mypic_customize/files/1_lek.pdf


การสั่งซื้อ คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้าง โดยส่วนมากแล้วมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรม ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบในการสั่งซื้อคอนกรีตมักจะเป็น วิศวกร ที่ดูแลงานนั้นๆอยู่  แล้วฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และคลังพัสดุ มาเกี่ยวข้องกับงานสั่งซื้อ คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) ได้อย่างใร ในเรื่องนี้จะทำให้ทราบว่ามีส่วนไหนบ้างที่เป็นส่วนรับผิดชอบที่ทางฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และคลังพัสดุ จะต้องเข้ามาดูแล
ก่อนอื่นอยากให้ทางผู้รับผิดชอบฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และคลังพัสดุ ได้ทราบเกี่ยวกับ คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) เป็นความรู้พื้นฐานไว้บ้าง เพื่อที่ในการดำเนินงานในความรับผิดชอบ จะได้ไม่ติดขัดหรือเกิดปัญหาขึ้น

ลำดับแรก ที่อยากให้ทราบก็คือ การแยกประเภทของ คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) ให้เป็น ซึ่งประเภทของคอนกรีต ฯ สามารถแยกได้ดังนี้
             1) Cement Paste คือ ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำ ถ้าเป็นภาษาช่างที่โครงการ ก็จะเรียกว่าน้ำปูน
             2) Mortar คือปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำและทราย
             3) Lean Concrete หรือคอนกรีตหยาบ ซึ่งคือคอนกรีตไม่รับแรง ใช้สำหรับงานปรับพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามา             ปนกับคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้าง
             4)  WaterProof Concrete หรือคอนกรีตกันซึม ส่วนมากจะใช้สำหรับงานกำแพงชั้นใต้ดิน หรืองานถังเก็บน้ำ สระว่ายน้ำ เป็นต้น
             5) Concrete Structure คือคอนกรีตโครงสร้างต่างๆ ซึ่งแยกตาม ค่าความแข็งแรง หรือ Strength ต่างๆ เช่น 240Ksc/Cyl เป็นต้น
             6)  Low Heat Concrete คือคอนกรีตความร้อนต่ำ ซึ่งส่วนมากจะใช้กันในการเทคอนกรีต Matt ใหญ่ๆ เช่น เทฐานคอนโด ฯ ที่เท                ครั้งเดียวหลายพันคิว เป็นต้น

ลำดับต่อไปที่อยากให้ทราบก็คือ การระบุกำลังรับแรงอัด ( Strength ) ซึ่งในประเทศไทย ใช้มาตรฐานของทางฝั่งอเมริกา แต่การอ้างอิงกำลังรับแรงอัด มักจะใช้ทั้ง 2 ระบบ คือ อเมริกา ( Cylinder : ทรงกระบอก ) และ อังกฤษ ( Cube : ลูกบาศก์ ) ตัวอย่างเช่น
-                    คอนกรีตกำลังอัด 240 Ksc/Cyl ( Cylinder ) หมายถึงคอนกรีตที่มีกำลังอัด 240 กก./ตร.ซม. สำหรับลูกปูนตัวอย่างทดสอบทรงกระบอก ( อ้างอิงอเมริกา )
-                    คอนกรีตกำลังอัด 240 Ksc/Cub ( Cube ) หมายถึงคอนกรีตที่มีกำลังอัด 240 กก./ตร.ซม. สำหรับลูกปูนตัวอย่างทดสอบทรงลูกบาศก์ ( อ้างอิงอังกฤษ )

รายละเอียดเรื่อง กำลังอัด อ่านได้จากลิงค์ที่ให้ไว้ด้านบน

ทีนี้ก็จะมาถึงส่วนที่ทาง ผู้รับผิดชอบฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และคลังพัสดุ ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง หลังจากที่ทางวิศวกร ได้สั่งซื้อคอนกรีตชนิดต่างๆ เข้ามาใช้งานแล้ว โดยจะมีส่วยเกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่
1) เก็บรวบรวมบิลส่งคอนกรีตที่มีในแต่ละวัน ให้ครบทุกใบ
2) แยกบิลส่งคอนกรีตในแต่ละวันตาม ประเภทของคอนกรีต
3) หลังจากแยกบิลส่งคอนกรีตตามประเภทของคอนกรีตแล้ว ก็ต้องแยกตาม Strength ของคอนกรีตที่ใช้งาน
4) ทำ Report จัดเก็บยอดของการใช้คอนกรีต ในแต่ละวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเสนอให้ผู้จัดการโครงการทราบ หรือ ให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทราบข้อมูลเพื่อวางแผนการทำงานได้
5) รอประกบบิลส่งคอนกรีต กับใบแจ้งหนี้ของทางร้านค้าที่จะส่งเข้ามาให้ เพื่อจัดส่งให้ฝ่ายจัดซื้อ หรือฝ่ายบัญชี  เพื่อทำเรื่องจ่ายเงินตามเครดิตที่ได้รับ


ซึ่งการดำเนินการข้อที่ 5 ในแต่ละบริษัท อาจจะทำไม่เหมือนกัน บางบริษัท ร้านค้าอาจไม่ส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้รับผิดชอบฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และคลังพัสดุ แต่ส่งไปให้ฝ่ายจัดซื้อ หรือฝ่ายบัญชีแทน ซึ่งในจุดนั้นก็อยู่ที่กระบวนการและขั้นตอนของแต่ละบริษัท  แต่กระบวนการโดยทั่วไปในการเก็บรวบรวมบิล ก็จะเป็นในแนวนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น